วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552

บทที่3

บทที่3
ส่วนที่1 จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด

1.ข้อเท็จจริงที่เก็บรวบรวมมาได้ เรียกว่า
ก. ข้อมูล ข. สารสนเทศ
ค. ข้อความ ง. ตัวเลข
2.ข้อมูลใด เป็นข้อมูลที่สามารถนำไปคำนวณได้
ก. รหัสไปรษณีย์ ข. หมายเลขโทรศัพท์
ค. บ้านเลขที่ ง. น้ำหนัก
3.ข้อมูลใด จัดเป็นข้อมูลตัวเลข
ก. ความสูง ข. เลขประจำตัว
ค. ความเร็ว ง. ระยะทาง
4. ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล เรียกว่า
ก. ข้อมูล ข. สารสนเทศ
ค.ข้อความ ง. ตัวเลข
5. หน่วยของข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ
ก. ระเบียน ข. ไบต์
ค. บิต ง. เขตข้อมูล
6. รหัสแทนข้อมูลในคอมพิวเตอร์แทนด้วยเลขฐานใด
ก. เลขฐานสอง ข. เลขฐานแปด
ค. เลขฐานสิบ ง. เลขฐานสิบหก
7. ตัวอักษร 1 ตัว ในระบบคอมพิวเตอร์ เรียกว่า
ก. เขตข้อมูล ข. ไบต์
ค. บิต ง. ระเบียน
8. หน่วยของข้อมูลที่ประกอบด้วยอักขระตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไป เรียกว่า
ก. บิต ข. ไบต์
ค.เขตข้อมูล ง. ระเบียน
9. การนำเขตข้อมูลหลายๆ เขตข้อมูลมารวมกัน เกิดเป็นข้อมูลเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เรียกว่า
ก. ฐานข้อมุล ข. แฟ้มระเบียน
ค.บิต ง. ระเบียน
10. การนำข้อมูลตั้งแต่ 1 ระเบียนขึ้นไป ที่เป็นเรื่องเดียวกันมารวมกัน เรียกว่า
ก. เขตข้อมูล ข. แฟ้มข้อมูล
ค. ระเบียน ง. ฐานข้อมูล
11. การนำแฟ้มข้อมูลที่เกี่ยวข้องมารวมกัน จะเกิดเป็น
ก. ฐานข้อมูล ข. เขตข้อมูล
ค.ระเบียน ง. ฐานข้อมูล

12. การแบ่งประเภทข้อมูล โดยพิจารณาจากองค์กร จะแบ่งได้เป็น
ก. ข้อมูลภายในองค์กร ข. ข้อมูลภายนอกองค์กร
ค. ข้อมูลองค์กรขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ง. ถูกทั้งข้อ ก. และ ข.
13. การแบ่งประเภทข้อมูลโดยพิจารณาจากการนำข้อมูลไปใช้งาน จะแบ่งได้เป็น
ก. ข้อมูลที่ใช้ในการปฏิบัติงาน และใช้ในการบริหาร
ข. ข้อมูลใช้งานเฉพาะกิจ และข้อมูลใช้งานทั่วไป
ค. ข้อมูลที่ใช้ในงานเฉพาะกิจ และข้อมูลที่ใช้ในงานบริหาร
ง. ถูกทุกข้อ
14. ลักษณะข้อมูลที่ดี ประกอบด้วย
ก. มีความถูกต้อง สมบูรณ์ ข. ตรงต่อความต้องการผู้ใช้
ค. มีความทันสมัย ทันต่อการใช้งาน ง. ถูกทุกข้อ
15. ปัญหาที่สำคัญที่ทำให้เกิดความต้องการใช้ฐานข้อมูล (Database)
ก. ข้อมูลมีปริมาณมาก ข. ข้อมูลมีการซ้ำซ้อนกันมาก
ค.ต้องการความรวดเร็ว ง. ถูกทุกข้อ




ส่วนที่2 จงตอบคำถาม

1. จงบอกความหมายของข้อมูล
- ข้อมูล(Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เก็บรวบรวมมาได้
ข้อมูลอาจอยู่ในรูปของตัวเลข ตัวหนังสือ หรือเรื่องราวต่างๆ ที่ยังไม่ได้ผ่านการประมวลผล
2. ข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
- 2 ประเภท คือ
1. ข้อมูลที่สามารถนำไปคำนวณได้ ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นตัวเลข เช่น อายุ คะแนน น้ำหนัก เป็นต้น
2. ข้อมูลที่ไม่สารมารถนำไปคำนวณได้ ได้ไก่ ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร ข้อมูลที่เป็นตัวอักษรปนตัวเลข และแม้แต่ข้อมูลที่เป็นตัวเลขแต่ไม่นำไปคำนวณ เช่น ชื่อคน ชื่อสินค้า ที่อยู่ รหัสไปรษณีย์ หมายเลขโทรศัพท์ เป็นต้น
3. สารสนเทศคืออะไร
- ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้เมื่อนำไปประมวลผลแล้วจะได้ผลลัพธ์ตามที่ผู้ใช้ต้องการ และผลลัพธ์ที่ได้นี้เราเรียกว่า สารสนเทศ (Information)
4. จงอธิบายโครงสร้างของการจัดเก็บข้อมูลลงในแฟ้มข้อมูล
- บิต(Bit)
หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด
ไบต์(Byte)
หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำบิตมารวมกันเป็นชุด เกิดเป็นตัวอักขระ(Character) 1 ตัว
เขตข้อมูล(Field)
หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่ประกอบขึ้นจากตัวอักขระตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไป เมื่อนำมารวมกันแล้วได้ความหมาย
ระเบียน(Record)
หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำเอาเขตข้อมูลหลายๆเขตข้อมูลมารวมกันเพื่อให้เกิดเป็นข้อมูล
เรื่องใดเรื่องหนึ่ง
แฟ้มข้อมูล(File)
หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำข้อมูลตั้งแต่ 1 ระเบียนขึ้นไป ที่เป็นเรื่องเดียกันมารวมกัน




5. จงบอกความหมายของฐานข้อมูล
- โครงสร้างของข้อมูลที่ประกอบด้วยรายละเอียดของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งจะนำมาใช้ในระบบงานต่างๆ ร่วมกัน และถูกจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลเดียวกันอย่างเป็นระบบ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการนำระบบคอมพิวเตอร์มาช่วยในการจัดการฐานข้อมูล
6. การแบ่งประเภทของข้อมูลโดยพิจารณาจากองค์กร สามารถแบ่งได้เป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
- 2 ประเภท
1. ข้อมูลภายในองค์กร
2. ข้อมูลภายนอกองค์กร
7.การแบ่งประเภทของข้อมูลโดยพิจารณาจากการนำข้อมูลไปใช้งานสามารถแบ่งได้เป็น
กี่ประเภท อะไรบ้าง
- 2 ประเภท
1. ข้อมูลที่ใช้ในการปฏิบัติงาน
2. ข้อมูลที่ใช้ในการบริหาร
8. จงบอกถึงลักษณะของข้อมูลที่ดี
- 1. มีความถูกต้อง
2. มีความสมบูรณ์
3. ตรงกับความต้องการของผู้ใช้
4. ทันต่อความต้องการใช้งาน
5. มีความทันสมัย
9. ชนิดของเขตข้อมูลมีอะไรบ้าง พร้อมอธิบาย
- 1. เขตหลัก(Key Field)
คีย์หลัก(Primary Key)
คีย์รอง(Secondaruy Key)
2. เขตที่ไม่ใช่เขตหลัก (Nonkey Field)
10. ขั้นตอนในการประมวลผลข้อมูลมีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง
- 3 ขั้นตอน
1. การรับข้อมูลเข้า (Input)
2. การประมวลผล (Process)
3. การแสดงผล (Output)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น